ขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
- การวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ทราบถึงชนิดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่จะขออนุญาต รวมถึงความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์
- ขออนุญาตสถานที่ผลิต / นำเข้า ในกรณีที่ยังไม่มีสถานที่ผลิต / นำเข้า และประสงค์จะขออนุญาตสถานที่ผลิต / นำเข้า ใหม่ หรือติดต่อสถานที่ผลิต / นำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้รับอนุญาตแล้ว กรณีจ้างการผลิต / จ้างนำเข้า
- ขออนุญาตผลิต/ นำเข้า ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้ ผลิต / นำเข้า ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง จากนั้นนำตัวอย่างที่ผลิต / นำเข้า ไปส่งตรวจวิเคราะห์ตามที่กำหนด
- จัดเตรียมเอกสารเพื่อการขออนุญาต ตามชนิดของผลิตภัณฑ์
- ยื่นคำขอตามกระบวนการที่กำหนดไว้แล้วแต่กรณี (จดแจ้ง / แจ้งรายละเอียด / ขึ้นทะเบียน)
- เข้าสู่กระบวนการประเมินข้อมูลคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลดอภัย เมื่อได้รับอนุญาต สามารถวางจำหน่ายได้ ตามช่องทางที่ได้รับอนุญาต ประกอบด้วย “ขายทั่วไป” “ขายในสถานที่ที่มีใบอนุญาต” “ใช้เฉพาะสถานพยาบาล”
- หากประสงค์จะโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ให้ยื่นคำขออนุญาตโฆษณาทุกกรณี
ศึกษาขั้นตอน และเอกสารหลักฐานประกอบการการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนต่างๆ ได้ดังนี้
1.การวินิจฉัยผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อให้สามารถเตรียมเอกสารหลักฐานได้อย่างถูกต้อง
1.1. ด้วยตนเอง ตามนิยามของชนิดผลิตภัณฑ์สมุนไพร และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์
1.2 consultation e-service ผ่านระบบออนไลน์ skynet ศึกษาข้อมูลได้จาก One Stop Service Center
2. การขออนุญาตสถานที่ผลิต / นำเข้า
ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) ออกแบบและยื่นขออนุมัติแบบแปลน (เฉพาะกรณีผลิต)
2) การขอรับการตรวจสถานที่ (เฉพาะกรณีผลิต)
3) ศึกษาวิธีการในการยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิต / นำเข้า ได้ที่ การขออนุญาตสถานที่
4) การยื่นขอใบอนุญาตสถานที่ผลิต / นำเข้า
- ในกรณีสถานที่ผลิต / นำเข้า อยู่ในกรุงเทพมหานคร ยื่นคำขออนุญาตได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- ในกรณีสถานที่ผลิต / นำเข้า อยู่ต่างจังหวัด ยื่นคำขออนุญาตได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานที่ ผลิต / นำเข้า นั้น ตั้งอยู่
เมื่อได้รับอนุมัติใบอนุญาตสถานที่ผลิต / นำเข้า แล้วจึงจะเข้าสู่กระบวนการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ต่อไป
3.การขออนุญาตผลิตภัณฑ์
ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) ศึกษาวิธีการในการยื่นขออนุญาตผลิตภัณฑ์ได้ที่ การขออนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร
2) ขออนุญาตผลิต/ นำเข้า ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้ ผลิต / นำเข้า ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง จากนั้นนำตัวอย่างที่ผลิต / นำเข้า ไปส่งตรวจวิเคราะห์ตามที่กำหนด
3) ยื่นคำขอตามกระบวนการที่กำหนดไว้แล้วแต่กรณี (จดแจ้ง / แจ้งรายละเอียด / ขึ้นทะเบียน) โดยจัดเตรียมเอกสารเพื่อการขออนุญาต ตามชนิดของผลิตภัณฑ์
เมื่อได้รับอนุญาต สามารถวางจำหน่ายได้ ตามช่องทางที่ได้รับอนุญาต ประกอบด้วย “ขายทั่วไป” “ขายในสถานที่ที่มีใบอนุญาต” “ใช้เฉพาะสถานพยาบาล”
4.การขออนุญาตโฆษณา
สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ การขออนุญาตโฆษณา
ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) ศึกษาวิธีการในการยื่นขออนุญาตโฆษณาได้ที่ การขออนุญาตโฆษณา
2) ยื่นคำขอโฆษณาผลิตภัณฑ์
เมื่อได้รับอนุมัติใบอนุญาตโฆษณา แล้วจึงจะสามารถโฆษณาตามสื่อที่ได้รับอนุญาตได้